วันจันทร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556




นวัตกรรมนิทานพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย




       


       นิทาน นับได้ว่าเป็นอาหารสมองสุดโปรดปรานของเด็กทุกคน แต่ทักษะคณิตศาสตร์อาจเป็นยาขมสำหรับเด็กบางคน ทำอย่างไรที่จะทำให้เด็กมีทัศนคติต่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์ว่าไม่ได้เป็นยา ขม แต่เป็นขนมสำหรับสติปัญญา วิธีการส่งเสริมและพัฒนาจึงต้องเป็นวิธีการที่เด็กชอบและสนใจ การเตรียมความพร้อมด้านทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย เป็นสิ่งสำคัญที่ครูผู้สอนต้องจัดประสบการณ์ให้กับเด็ก เนื่องจากเป็นวิชาบังคับที่เด็กต้องเรียนรู้ในระดับประถมศึกษา
ธรรมชาติของการเรียนรู้ทักษะคณิตศาสตร์ ต้องเป็นไปตามลำดับ ขั้นตอนจากง่ายไปสู่ยาก โดยเฉพาะการเรียนรู้เรื่องจำนวน หากเด็กยังไม่เข้าใจความหมายของจำนวน เด็กก็ไม่สามารถเรียนรู้ทักษะอื่นๆที่ซับซ้อนขึ้น เช่น การบวก ลบ ต่อไปได้ ดังนั้นการพัฒนาทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยให้รู้ค่ารู้จำนวน จึงเป็นสิ่งที่ครูจะละเลยไม่ได้ สิ่งที่ครูต้องตระหนักอย่างมากประการหนึ่ง คือ จะใช้นวัตกรรมหรือวิธีการใดที่จะทำให้เด็กเกิดทักษะคณิตศาสตร์ได้อย่างเข้า ใจและมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ขั้นตอนแรกเด็กต้องเรียนรู้ ผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า ให้เด็กได้หยิบจับ นับสิ่งของรอบๆตัว และต้องทำซ้ำๆสม่ำเสมอ เมื่อเด็กเริ่มเรียนรู้จำนวนโดยการสัมผัสของจริงแล้ว ก็สามารถเริ่มให้เด็กได้ฝึกทักษะในรูปแบบที่เป็นนามธรรมได้บ้าง เช่น การใช้ภาพเป็นสื่อแทนของจริง




วันศุกร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2556



ความรู้เพิ่มเติม


แบบฝึกหัดเสริมพัฒนาการ

1. เด็กๆระบายสีที่มีตัวเลขรวมกันเท่ากับ 3


2. จงระบายสีรูปทรงที่แตกต่าง



 3. จงนับภาพและเขียนตัวเลขใส่ในช่องว่าง




4.เด็กๆระบายสีภาพเท่าจำนวนคำตอบที่ถูกต้อง




5.เด็ๆโยงเส้นไปหาคำตอบที่ถูกต้แอง





6.เด็กๆขีด X ในช่องว่าง  หน้าประโยคคำตอบที่ถูกต้อง



7.เด็กๆโยงเส้นไปหาคำตอบที่ถูกต้อง



8.เด็กๆระบายสีภาพเท่าจำนวนคำตอบที่ถูกต้อง



9.เด็กๆโยงเส้นไปหาคำตอบที่ถูกต้อง



วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


สัปดาห์ที่  16

วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2556
เรียน วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

       ในระหว่างที่รอเพื่อนๆเข้าห้องเรียน อาจารย์ ได้ให้ดูการทำสื่อแบบต่างๆที่สอดแทรกในเรื่องคณิตศาสตร์ของโรงเรียนเกษมวิทยา  เช่น
1.ตารางการชอบกินนมของเด็ก  
2.mymappig ขนมที่มีนมเป็นส่วนประกอบ
3.หน่วยอวัยวะ
4.การเปรียบเทียบความเหมือน-ความต่าง
5.การสังเกตลักษณะนมชนิดต่างๆ
6.วิธีการทำและวิธีการเขียนส่วนผสมของการทำขนมครกข้าว
                
                  ภาพการดูสื่อชนิดต่างๆของโรงเรียนเกษมวิทยา
 




      จากนั้น อาจารย์ ให้ออกมานำเสนอแผนการสอน
                         
                           กลุ่มที่ 3 คือ กลุ่มของดิฉัน  เรื่อง  ข้าว
                                  

                                     กลุ่มที่ 4  เรื่อง สับปะรด
                             



กลุ่มที่ 3  คือ ก่ลุมของดิฉัน คือ  เรื่อง  ข้าว





            **ดิฉันได้ สอนวันที่ 3  คือ  ส่วนประกอบของต้นข้าว

วันศุกร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


สัปดาห์ที่  15

วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2556
เรียน วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

      -อาจารย์  ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอวิธีการสอบสอนของแต่ละวันที่กลุ่มตนได้เตรียนมา
  
    จากนั้นก็ได้นำเสนอการสอนแต่ละกลุ่ม คือ
                                    
                                        กลุ่มที่ 1  เรื่องผลไม้
                            
                                       
                                         

                                       กลุ่มที่ 2  เรื่องไข่





วันพฤหัสบดีที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


สัปดาห์ที่  14

วันที่ 25 มกราคม 2556
เรียน วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

      -อาจารย์  ทบทวนมาตรฐานคณิศาสตร์ 
จำนวน คือ ปริมาณ
มาตรฐาน คือ เกณฑ์ขั้นต่ำ
ประสบการณ์ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้
   ** การเขียน Mymapping  อันดับแรกที่จะต้องแตก คือ
1.ชนิด
2.ประเภท
3.ลักษณะ
4.ประโยชน์
5.ข้อจำกัด/ข้อควรระวัง
6.การขยายพันธ์
         -  อาจารย์ได้สรุปมาตรฐานคณิตศาสตร์ โดยการเขียนด้วย Mymapping




วันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


สัปดาห์ที่  13

วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2556
เรียน วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


                          หมายเหตุ      ไม่มีการเรียนการสอน


การบ้านสัปดาห์นี้
 -อาจารย์  ให้กลับไปทำ Mymapping มาตรฐานคณิตศาสตร์
 -อาจารย์  ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มเตรียมแผนมาเพื่อที่จะออกมาสอนเพื่อนๆตามที่กลุ่มของตนได้แต่ละหน่วย โดยให้สมาชิกทุกคนออกมาสอนคนละ 1 วัน ประมาณ 20 นาที  




วันศุกร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2556


สัปดาห์ที่  12

วันที่ 18 มกราคม 2556
เรียน วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

      -อาจารย์  ให้แต่ละกลุ่มออกมาส่งงาน Mymapping และ มาตรฐานที่เป็นงานเดี่ยว
      -อาจารย์ ได้แนะนำในการทำงานในครั้งนี้
วิธีการเลือกหน่วยที่จะนำมาสอนเด็กปฐมวัย
1.จะต้องเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเด็ก
2.มีประโยชน์กับตัวเด็ก
3.จะต้องเป็นเรื่องที่เด็กรู้จัก
4.สามารถเสริมสร้างพัฒนาการเด็กได้
5.เป็นเรื่องง่ายๆเด็กสามารถทำได้
6.เหมาะสมกับวัยของเด็ก
7.เนื้อหาจะต้องมีความสำคัญกับเด็ก
8.จะต้องมีผลกระทบกับตัวเด็ก

    -อาจารย์ ได้ทำตัวอย่าง Mymapping  ของกลุ่มที่ทำเรื่องไข่ให้ดู



วันจันทร์ : เรื่องชนิดของไข่
ครู : เด็ๆรู้จักไข่อะไรกันบ้าง?? เด็กๆจะตอบชนิดของไข่ที่รู้จักหรือเคยเห็นมา  ได้คณิตศาสตร์ในด้าน  ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
ครู : เด็กๆอยากรู้ไหมว่าในตระกร้าของครูมีไข่ชนิดไหนบ้าง ครูหยิบไข่ขึ้นมาให้เด็กดูว่ามีไข่อะไรบ้างแล้วแยกออกแต่ละประเภท เช่น ไข่ไก่ ไข่เป็ด   เป็นการสอนให้เด็กมีส่วนรว่ม
ครู : ไข่ในตะกร้ามีทั้งหมดกี่ฟอง  ได้คณิศาสตร์ในเรื่อง  การนับ จำนวน 
    การจัดกลุ่ม : ให้เด็กหยิบไข่ที่มีสีขาวลงในตะกร้าที่ครูกำหนด
    การแยกประเภท : ให้แยกไข่ไก่ออกเป็น 1 กอง เท่ากับ 5 ฟอง
ไข่เป็ดออกเป็น 1 กอง เท่ากับ 5 ฟอง
    การเเปรีบยเทียบจับคู่ 1:1  : โดยให้เด็กจับคู่ไข่ไก่และไข่เป็ดโดยที่ไม่เหลือเลยสักใบ
      ถ้าไข่ประเภทไหนหมดก่อนแสดงว่าไข่ประเภทนั้นมีน้อย
      ถ้าไข่ประเภทไหนยังเหลืออยู่แสดงว่าไข่ประเภทนั้นมีมาก
    นำเสนอข้อมูล : โดยการวาดรูปวงกลมสองวงซ้อนกันหรือเป็นตารางรวบรวมข้อมูล
วันอังคาร : เรื่องลักษณะ
สี : ไข่เป็ดมีเปลือกสีขาว  ไข่ไก่มีเปลือกสีครีม
ขนาด : เล็ก  ใหญ่
รูปทรง : ไข่เป็ดและไข่ไก่มีรูปทรงเป็นวงรี
ส่วนประกอบ : ไข่เป็ดมี ไข่ข่าว ไข่แดง เปลือกไข่ / ไข่ไก่มี ไข่ขาวไข่แดง เปลือกไข่


การบ้านสัปดาห์นี้
 อาจารย์ให้นักศึกษาทุกกลุ่มนำงานของตนกลับไปแก้ไขให้ดีกว่าเดิม



วันศุกร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2556


สัปดาห์ที่  11

วันที่ 11 มกราคม 2556
เรียน วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

      -อาจารย์  ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอผลงานของแต่ละกลุ่ม

กลุ่มที่ 1 คือ สื่อการสอนคณิตศาสตร์การสอนลูกคิด
   อาจารย์ ได้ให้กลุ่มที่ 1 กลับไปทำมาใหม่ โดยให้มีขนาดที่ใหญ่กว่าเดิมและให้มีความแข็งแรงคงทนมากขึ้นและสามารถให้เด็กๆมองเห็นลูกคิดได้ในขณะที่แขวนไว้


กลุ่มที่ 2 คือ สื่อการสอนคณิตศาสตร์กราฟ / แผนภูมิแท่ง
   อาจารย์ ได้แนะนำว่า ให้กลับไปทำที่จับเชือกด้านหลังไว้สำหรับดึงเชือกเวลาปรับเปลี่ยนปริมาณตัวเลขด้านหน้า


กลุ่มที่ 3 คือ สื่อการสอนคณิตศาสตร์ปฏิทิน
   อาจารย์ ได้แนะนำกับกลุ่มที่ 3 ว่า จะต้องเอากลับไปปรับปรุงใหม่ให้มีความแข็งแรงคงทนต่อการใช้งาน และ ตัวอักษร จะใช้เพลดหรือปริ้นข้อความเพื่อจะได้ความสวยงามอ่านได้ง่ายขึ้น
รูปแบบการติดข้อความ ข้อความจะต้องมีปริมาณเพิ่มขึ้นและจะต้องติดโดยรูปแบบที่เด็กอ่านแล้วเข้าใจ
  ควรจะต้องมีสัญลักษณ์วันเกิดของเด็กในวันนั้นๆ เช่น บันทึกวันเกิด  เวรทำความสะอาดหรือผู้นำออกมาพูด

       เด็กได้เรียนรู้คณิตศาสตร์ในเรี่องของ ปริมาณ การนับ ลำดับเชิงนามธรรม จำนวน 

อาจารย์ ได้เขียนตัวอย่าง Mymapping หน่วย แตงโมง 


การบ้านในสัปดาห์นี้
  -ให้แต่ละกลุ่มไปคิดว่าจะเขียนหน่วยอะไรแล้วให้ทำมาเป็น Mymapping เหมือนกับที่อาจารย์ทำให้ดูเป็นตัวอย่าง
  -เขียนเป็นมาตรฐานมา 5 วัน คือ วันจันทร์-วันอาทิตย์
  -สัปดาห์หน้าออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน
                    **  กลุ่มของดิฉันทำเรื่อง หน่วย กล้วย  **


วันศุกร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2556


สัปดาห์ที่ 10

วันที่  4  มกราคม 2556
เรียน วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

     - อาจารย์  อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มช่วยกันประดิษฐ์สื่อการสอนคณิตศาสตร์ ตามที่กลุ่มของตนเองได้รับมอบหมาย
 สื่อ กราฟ / แผนภูมิ
           
ภาพการทำกราฟของกลุ่ม











ภาพอาจารย์ตรวจงานกลุ่มของตนเอง

เรื่อง  กราฟ







อาจารย์ตรวจงานกลุ่มของเพื่อนๆ

เรื่อง  ลูกคิด




                                          เรื่อง  ปฏิทิน