วันศุกร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2556


สัปดาห์ที่  12

วันที่ 18 มกราคม 2556
เรียน วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

      -อาจารย์  ให้แต่ละกลุ่มออกมาส่งงาน Mymapping และ มาตรฐานที่เป็นงานเดี่ยว
      -อาจารย์ ได้แนะนำในการทำงานในครั้งนี้
วิธีการเลือกหน่วยที่จะนำมาสอนเด็กปฐมวัย
1.จะต้องเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเด็ก
2.มีประโยชน์กับตัวเด็ก
3.จะต้องเป็นเรื่องที่เด็กรู้จัก
4.สามารถเสริมสร้างพัฒนาการเด็กได้
5.เป็นเรื่องง่ายๆเด็กสามารถทำได้
6.เหมาะสมกับวัยของเด็ก
7.เนื้อหาจะต้องมีความสำคัญกับเด็ก
8.จะต้องมีผลกระทบกับตัวเด็ก

    -อาจารย์ ได้ทำตัวอย่าง Mymapping  ของกลุ่มที่ทำเรื่องไข่ให้ดู



วันจันทร์ : เรื่องชนิดของไข่
ครู : เด็ๆรู้จักไข่อะไรกันบ้าง?? เด็กๆจะตอบชนิดของไข่ที่รู้จักหรือเคยเห็นมา  ได้คณิตศาสตร์ในด้าน  ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
ครู : เด็กๆอยากรู้ไหมว่าในตระกร้าของครูมีไข่ชนิดไหนบ้าง ครูหยิบไข่ขึ้นมาให้เด็กดูว่ามีไข่อะไรบ้างแล้วแยกออกแต่ละประเภท เช่น ไข่ไก่ ไข่เป็ด   เป็นการสอนให้เด็กมีส่วนรว่ม
ครู : ไข่ในตะกร้ามีทั้งหมดกี่ฟอง  ได้คณิศาสตร์ในเรื่อง  การนับ จำนวน 
    การจัดกลุ่ม : ให้เด็กหยิบไข่ที่มีสีขาวลงในตะกร้าที่ครูกำหนด
    การแยกประเภท : ให้แยกไข่ไก่ออกเป็น 1 กอง เท่ากับ 5 ฟอง
ไข่เป็ดออกเป็น 1 กอง เท่ากับ 5 ฟอง
    การเเปรีบยเทียบจับคู่ 1:1  : โดยให้เด็กจับคู่ไข่ไก่และไข่เป็ดโดยที่ไม่เหลือเลยสักใบ
      ถ้าไข่ประเภทไหนหมดก่อนแสดงว่าไข่ประเภทนั้นมีน้อย
      ถ้าไข่ประเภทไหนยังเหลืออยู่แสดงว่าไข่ประเภทนั้นมีมาก
    นำเสนอข้อมูล : โดยการวาดรูปวงกลมสองวงซ้อนกันหรือเป็นตารางรวบรวมข้อมูล
วันอังคาร : เรื่องลักษณะ
สี : ไข่เป็ดมีเปลือกสีขาว  ไข่ไก่มีเปลือกสีครีม
ขนาด : เล็ก  ใหญ่
รูปทรง : ไข่เป็ดและไข่ไก่มีรูปทรงเป็นวงรี
ส่วนประกอบ : ไข่เป็ดมี ไข่ข่าว ไข่แดง เปลือกไข่ / ไข่ไก่มี ไข่ขาวไข่แดง เปลือกไข่


การบ้านสัปดาห์นี้
 อาจารย์ให้นักศึกษาทุกกลุ่มนำงานของตนกลับไปแก้ไขให้ดีกว่าเดิม



วันศุกร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2556


สัปดาห์ที่  11

วันที่ 11 มกราคม 2556
เรียน วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

      -อาจารย์  ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอผลงานของแต่ละกลุ่ม

กลุ่มที่ 1 คือ สื่อการสอนคณิตศาสตร์การสอนลูกคิด
   อาจารย์ ได้ให้กลุ่มที่ 1 กลับไปทำมาใหม่ โดยให้มีขนาดที่ใหญ่กว่าเดิมและให้มีความแข็งแรงคงทนมากขึ้นและสามารถให้เด็กๆมองเห็นลูกคิดได้ในขณะที่แขวนไว้


กลุ่มที่ 2 คือ สื่อการสอนคณิตศาสตร์กราฟ / แผนภูมิแท่ง
   อาจารย์ ได้แนะนำว่า ให้กลับไปทำที่จับเชือกด้านหลังไว้สำหรับดึงเชือกเวลาปรับเปลี่ยนปริมาณตัวเลขด้านหน้า


กลุ่มที่ 3 คือ สื่อการสอนคณิตศาสตร์ปฏิทิน
   อาจารย์ ได้แนะนำกับกลุ่มที่ 3 ว่า จะต้องเอากลับไปปรับปรุงใหม่ให้มีความแข็งแรงคงทนต่อการใช้งาน และ ตัวอักษร จะใช้เพลดหรือปริ้นข้อความเพื่อจะได้ความสวยงามอ่านได้ง่ายขึ้น
รูปแบบการติดข้อความ ข้อความจะต้องมีปริมาณเพิ่มขึ้นและจะต้องติดโดยรูปแบบที่เด็กอ่านแล้วเข้าใจ
  ควรจะต้องมีสัญลักษณ์วันเกิดของเด็กในวันนั้นๆ เช่น บันทึกวันเกิด  เวรทำความสะอาดหรือผู้นำออกมาพูด

       เด็กได้เรียนรู้คณิตศาสตร์ในเรี่องของ ปริมาณ การนับ ลำดับเชิงนามธรรม จำนวน 

อาจารย์ ได้เขียนตัวอย่าง Mymapping หน่วย แตงโมง 


การบ้านในสัปดาห์นี้
  -ให้แต่ละกลุ่มไปคิดว่าจะเขียนหน่วยอะไรแล้วให้ทำมาเป็น Mymapping เหมือนกับที่อาจารย์ทำให้ดูเป็นตัวอย่าง
  -เขียนเป็นมาตรฐานมา 5 วัน คือ วันจันทร์-วันอาทิตย์
  -สัปดาห์หน้าออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน
                    **  กลุ่มของดิฉันทำเรื่อง หน่วย กล้วย  **


วันศุกร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2556


สัปดาห์ที่ 10

วันที่  4  มกราคม 2556
เรียน วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

     - อาจารย์  อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มช่วยกันประดิษฐ์สื่อการสอนคณิตศาสตร์ ตามที่กลุ่มของตนเองได้รับมอบหมาย
 สื่อ กราฟ / แผนภูมิ
           
ภาพการทำกราฟของกลุ่ม











ภาพอาจารย์ตรวจงานกลุ่มของตนเอง

เรื่อง  กราฟ







อาจารย์ตรวจงานกลุ่มของเพื่อนๆ

เรื่อง  ลูกคิด




                                          เรื่อง  ปฏิทิน