วันศุกร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2555


สัปดาห์ที่ 9

วันที่ 28 ธันวาคม 2555
เรียน วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

     
                                 ไม่มีการเรียนการสอน
หมายเหตุ   เนื่องจากอยู่ในช่วงเทศกาลปีใหม่นักศึกษาส่วนใหญ่กลับมีความจำเป็นต้องเดินทางบ้านต่างจังหวัด


การบ้านสัปดาห์นี้  
    อาจารย์ให้นักศึกษาทำงานกลุ่มและแบ่งหน้าที่กันให้เรียบร้อย คือ ประดิษฐ์สื่อการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ตามที่ได้รับมอบหมายของแต่ละกลุ่ม

วันศุกร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2555


สัปดาห์ที่ 8

วันที่ 21 ธันวาคม 2555
เรียน วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

                                 
                                     ไม่มีการเรียนการสอน
หมายเหตุ   เนื่องจากอยู่ในช่วงสอบกลางภาค  ภาคเรียนที่ 2 / 2555  

วันอาทิตย์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2555

วันศุกร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2555



สัปดาห์ที่ 7

วันที่  14  ธันวาคม  2555
เรียน วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

       -อาจารย์สอนเรื่อง เกณฑ์ หรือ มาตรฐาน ของคณิตศาสตร์
       -มาตรฐานของคณิตศาสตร์ เรามักจะนึกถึง เกณฑ์ คุณภาพ การประเมิน วิธีการวัด ตัวช้วัด ตัวกิจกรรม และการได้รับการยอมรับ
       -มาตรฐานมีความจำเป็นกับตัวเราในชีวิประจำวันเพราะเป็นตัวชี้วัดว่าเรามีคุณภาพ เช่น มาตรฐานในตัวเอง มาตรฐานในโรงเรียน และ มาตรฐานในอาหาร
       -สสวท. คือ สถาบันส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คือ สถาบันที่เป็นตัวชี้วัดให้กับเรา
       -กรอบ มาตรฐาน คริตศาสตร์ เป็นแนวทางที่จะให้เราได้จัดประสบการณ์ตามที่มาตรฐานกำหนดว่าควรจะจัดอย่างไร
       -ภาษากับคณิตศาสตร์ เป็นเคริองมือที่ใช้ในการเรียนรู้ที่สำคัญในระดับชั้นต่างๆเราจึงจัดภาษาและคณิตศาสตร์ให้เหมาะสม
         **ถ้าจัดประสบกณ์ารคณิตศาสตร์เราจะต้อง
1. รู้พัฒนาการของเด็กเพื่อจะจัดพัฒนาการให้สอดคล้องกับวัย
2. เรียนรู้ผ่านการเล่นโดยการลงมือกระทำกับวัตถุโดยประสาทสัมผัสทั้ง 5
         **กรอบคณิศาสตร์ของ สสวท. คือ
1. จำนวนและการดำเนินการต่างๆในชีวิตประจำวัน เช่น จำนวนคนในครอบครับ 
2. ค่าและปริมาณ
    การบ้าน
1. อาจารย์ให้กลับไปอ่านหนังสือ
2. อาจารย์ให้ทำการบ้านมาส่งที่อาจารย์ได้ให้ไว้ในสัปดาห์ที่แล้ว(งานกลุ่ม)แล้วนำมาส่ง
    **หมายเหตุ  สัปดาห์ที่แล้วดิฉันไม่ได้มาเรียนดิฉันจึงไม่มีกลุ่ม                   ทำงาน แต่ในสัปดาห์นี้อาจารย์ให้หากลุ่มอยู่
ดิฉันอยู่กลุ่มที่ 3 (อาจาย์บอกว่าแต่ละกลุ่มมีสมาชิกหลายคนจะต้องทำงานออกมาให้ดี)


วันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2555



สัปดาห์ที่ 6



วันที่  7  ธันวาคม  2555
เรียน วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

**  หมายเหตุ  ดิฉัน นางสาวสุกานดา  ชูสนิท ได้ขาดเรียน 1 วัน
                        เนื่องจากติดธุระ
         ดิฉัน จึงได้คัดลอกงานจาก   นางสาวนิภาพร  หมื่นยุทธ


กล่องสามารถนำมาสอนคณิตศาสตร์อะไรได้บ้าง ?

-รูปทรง

- พื้นที่

- ปริมาณ

- การนับ

- ขนาด

- การวัด(ใช้กล่องเป็นเครื่องมือในการวัด กล่องเป็นเครื่องมือแบบกึ่ง

มาตรฐาน มีขนาดที่คงที่แต่ไม่มาตรฐาน)

- การเรียงลำดับ


(1.วัดหาค่า สามารถนำสถิติและกราฟเข้ามาแทรกได้2. เปรียบเทียบ 

3. วางเรียงลำดับ )






- การจัดประเภท(กล่องยาสีฟัน-กล่องยาสีฟัน ที่เหลือไม่ใช่กล่อง

ยาสีฟัน)

- เศษส่วน(นำกล่องทั้งหมดมารวมกันทั้งหมด หลังจากนั้นนับ และ

เรียงลำดับ เช่น กล่องยาสีฟันมี 6 กล่อง จากของทั้งหมด 12 กล่อง 

คือ 6 ส่วน 12 คำว่าครึ่ง กล่องทั้งหมดจะต้องนำมาแบ่งครึ่งมา

ทำงานศิลปะ ให้เด็กจับออกมาเป็นคู่ๆ คือ 1:1 จนสุท้ายหมดไป)

- การทำตามแบบ(ครูเรียงกล่องให้เด็กดูและเด็กเรียงตาม)

- เซต(เซตกล่องยาสีฟัน,เซตกล่องเครื่องประทินผิว)

- การอนุรักษ์(วัตถุมีปริมาณคงที่แม้รูปร่างจะเปลี่ยนแปลงไป ถ้า

เป็นของแข็งจะใช้วิธี จัดวาง การจัดเรียง แต่ปริมาณยังคงที่ เด็กจะ

ถึงช่วงอนุรักษ์ได้ก็ต่อเมื่อเด็กมีเหตุผลแล้ว )


***การจัดการเรียนการสอนเด็ก ไม่จำเป็นต้องใช้เงินสูง แต่ต้องคิด

ให้เป็น ในสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวมีสื่งใดบ้างที่นำมาคิดได้บ้าง เช่น 

เรื่องของกล่อง

***การจัดการเรียนการสอนเด็ก ไม่จำเป็นต้องใช้เงินสูง แต่ต้องคิดให้เป็น ในสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวมีสื่งใดบ้างที่นำมาคิดได้บ้าง เช่น เรื่องของกล่อง

** อาจารย์ให้นักศึกษานับคนในห้องได้ 33 คน และให้แบ่งกลุ่มๆละ 

11 คน 3 กลุ่ม เมื่อเข้ากลุ่มแล้วอาจารย์ก็ถามทีละคนในห้องว่าเห็น

เป็นอะไร

   อรอนงค์   เห็นกล่องเป็น    ตู้เย็น

   พรทิพย์    เห็นกล่องเป็น   ทีวี

   ชลันดา     เห็นกล่องเป็น   ลำโพง

   สมฤดี       เห็นกล่องเป็น   โทรศัพท์

   นิภาพร     เห็นกล่องเป็น   ยางลบ

** อาจารย์ให้ทำตามกติกา

กลุ่มที่ 1 ให้คุยกันได้วางแผนได้ว่าจะสร้างกล่องมาประกอบกันเป็น

รูปอะไร

กลุ่มที่ 2 ห้ามพูดคุยกันและจะต้องวางกล่องทีละคนต่อจากเพื่อน

กลุ่มที่ 3 สามารถคุยกันได้แต่จะต้องวางกล่องทีละคนต่อจากเพื่อน















                กลุ่มที่ หุ่นยนต์

                กลุ่มที่ สถานีรถไฟ

                กลุ่มที่ ตึกหลากสี







*** สิ่งของที่เหลือใช้เศศวัสดุสามารถนำมาทำเป็นสื่อคณิตศาสตร์

ทำได้จากอะไร


-หลอดกาแฟ กล่อง กระดาษ ไม้ไอศกรีม ฝาขวดน้ำ แกนกระดาษ

ทิชชู กล่องนม ถ้วยปีโป้ แก้วพลาสติก ช้อนพลาสติก เปลือกลูกอม 

ขวดน้ำ กระป๋องน้ำอัดลม ถุงขนม ไม้เสียบลูกชิ้น ปฏิทิน จาน

กระดาษ เศษผ้า แผ่นซีดี กระดุม ถุงขนม

*** ถ้วยปีโป้ ขวดน้ำ กระป๋องน้ำอัดลม กล่องนม ถุงขนม สิ่งเหล่านี้

เราจะให้เด็กมีประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ผ่านการเล่นนำมาใช้ได้

อย่างไร

-เล่นผ่านกิจกรรมบทบาทสมมุติ (ร้านขายของ จะต้องมีราคาติดไว้ 

มีเงินปลอม ราคาควรเขียนเป็นจุดให้เด็กเห็น)

* เมื่อมีขยะแล้วเราสามารถนำมาจัดการเล่นให้เหมาะสมได้

***อาจารย์สั่งงานให้ทำสื่อคณิตศาสตร์จากเศษวัสดุเหลือใช้

กลุ่มที่ 1 ทำ ลูกคิด

กลุ่มที่ 2 ทำ ปฏิทิน

กลุ่มที่ 3 ทำ กราฟ


- ในการทำสื่อให้ทำแล้วทำอะไรต้องใช้ให้คุ้มกับสื่อที่ทำ ไม่ต้อง

ลงทุนแพง สามารถใช้ได้หลายๆลักษณะ

- อาจารย์ยังไม่แจ้งวันส่ง และคาดว่าอาจหลังปีใหม่

- มีสื่อของงานตนเอง 1 ชิ้นแต่ยังไม่สั่งให้ทำ




วันศุกร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555



สัปดาห์ที่ 5

วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555
เรียน วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

     - อาจารย์  ชี้แจง
   วันจันทร์  ให้นักศึกษาทุกคนไปลงนามถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องจากใกล้ถึงวันที่ 5 ธันวาคม มหาราชและเวลา 13.00.-17.00. มาร้องเพลง
   วันอังคาร  เวลา 16.00อาจารย์นัดเจอกันที่ลานเพลิงเพื่อที่จะมาเต้นถวายพระพรเพื่อพ่อหลวง 
** ให้นักศึกษาแต่งกาย ใส่เสื้อสีเหลือง  กางเกงวอม  รองเท้าผ้าใบ

** ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ ในระดับประถมศึกษาควรประกอบด้วยหัวข้อของเนื้อหาหรือทักษะ(นิตยา  ประพฤติกิจ.2541.17-19)
1. การนับ คือ การเรียงตัวเลข จากนั้นเป็น การนับลำดับที่/ ตำแหน่ง จะได้เป็น จำนวน แล้วจะใช้ สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์เพื่อให้เกิดความเข้าใจ  
2. ตัวเลข  เป็นสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์มีไว้บอก ค่า  จำนวน  สัญลักษณ์  เพื่อสื่อสารให้เกิดความเข้าใจ                               
3. การจับคู่ คือ การจับคู่เหมือน เช่น รูปร่าง  รูปทรง  จำนวน
4. การจัดประเภท คือ กำหนดเกณฑ์ เราไม่ควรกำหนด 2 เกณฑ์ เพราะจะทำให้เด็กสับสนแยกแยะไม่ออก ถ้าต้องกำหนดเกณฑ์ต้องกำหนดเพียง 1 เกณฑ์สำหรับเด็กปฐมวัย เพราะ เป็นการวางพื้นฐาน              
5. การเปรียบเทียบ คือ ทักษะการสังเกตเป็นขั้นต้น คือ การกะประมาณ คือ 1.หาค่า/หาปริมาณ   แล้วมา   2.มาเปรียบเทียบกัน แล้ว เปิดโอกาสให้เด็กได้ลงมือกระทำจริงในการเปรีบยเทียบโดยการ  ตัดออก  การลบ  การบวก
6. การจัดลำดับ คือ การหา ค่า / ปริมาณ แล้วมา เปรียบเทียบ แล้วมา จัดวางเรียงลำดับ แล้วนำ ตัวเลขมาลำดับกำกับ
7. รูปทรงและเนื้อที่ คือ ปริมาณ ความจุ
8.การวัด คือ การหาค่า/ปริมาณ ที่เป็น หน่วย/เครื่องมือในการวัด(สำหรับเด็กจะไม่เป็นทางการ)  เครื่องมือกึ่งมาตรฐาน เช่น ฝ่ามือ  เครื่องมือมาตรฐาน เช่น ไม้บรรทัด ตลับเมตร
9. เซต คือ การอยู่เป็นคู่ เช่น จำนวน คู่กับจำนวน (1,1)
10. เศษส่วน อันดับแรกต้องรู้จักคำว่าทั้งหมด”  และ ครึ่ง(แบ่งครึ่ง)เช่น การแบ่งขนมคนละครึ่ง  หรือ  มีเด็ก 4 คนมีขนม 1 ชิ้น ต้องแบ่งขนมให้ได้ 1 ส่วน 4 ของแต่ละชิ้น แต่ละคนให้เท่าๆกัน
11. การทำตามแบบหรือลวดลาย  ได้ลงมือปฏิบัติจริงแล้วใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 การทำตามแบบ คือ การเล่น เช่น การเล่นเกมกระต่ายขาเดียวแล้วจะต้องให้เด็กมีอิสระที่จะเลือกและตัดสินใจทำเองและทำโดยไม่ทำลายความเชื่อมั่นในตนเอง
12. การอนุรักษ์ คือ การตอบตามที่ตามองเห็นที่เป็นรูปธรรม เช่น ตัวอย่าง การเทน้ำใส่แก้วที่มีรูปร่างต่างกัน
     (เยาวภา  เดชะคุปต์.2542.87-88) ได้เสนอการสอนคณิตศาสตร์แนวใหม่ที่ครูครวศึกษาเพื่อจัดประสบการณ์ให้กับเด็กดังนี้
1. การจัดกลุ่มหรือเซต
2. จำนวน 1-10
3. ระบบจำนวน/ชื่อของตัวเลข   1=หนึ่ง  / 2=สอง
4. ความสัมพันระหว่างเซต
5. การรวมกลุ่ม
6. ลำดับที่
7. การวัด
8. รูปทรงเรขาคณิตศาสตร์
9. สถิติและกราฟ
    จาก แนวคิดของทั้งสองท่านที่ได้กล่าวมานั้น.นิตยา  ประพฤติกิจ และ อ.เยาวภา  เดชะคุปต์ มีแนวคิดที่เหมือนกันแต่ที่แตกต่างกัน คือ หัวข้อ สถิติและกราฟ ที่ อ.นิตยา ประพฤติกิจ ไม่มี

     - อาจารย์ให้จับคู่ 2 คน แล้วใหทำงาน 12 หัวข้อ

การบ้านสัปดาห์นี้
    1. ทำงานคู่ 12หัวข้อ 
การบ้านสัปดาห์หน้า
    2. อาจารย์  ให้นำกล่องที่มีรูปทรงมาคนละ 1 กล่อง กล่องอะไรก็ได้ เช่น กล่องใส่ครีม  กล่องยาสีฟัน....



วันศุกร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555



สัปดาห์ที่  4

วันที่ 23 พศจิกายน  2555
เรียน วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

                                  
                              ไม่มีการเรียนการสอน

             ** หมายเหตุ  มี กีฬาสี ของคณะศึกษาศาสตร์
                                  







วันศุกร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555


สัปดาห์ที่  3


วันที่  16  พฤศจิกายน  2555
เรียน  วิชา  การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


     - อาจารย์  ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 3 คน เสร็จแล้ว อาจารย์ ให้สมาชิก 1 คน ในกลุ่มทุกกลุ่มยืนขึ้นแล้วให้เปลี่ยนไปอยู่กลุ่มอื่น จากนั้นได้ให้สมาชิกคนที่ 2 ในกลุ่มเดิมยืนขึ้นแล้วให้เปลี่ยนกลุ่มเหมือนกับสมาชิกคนที่ 1 โดยห้ามไปอยู่ซ้ำกับกลุ่มที่เพื่อนคนแรกอยู่
     จากนั้น อาจารย์ ให้แต่ละกลุ่มนำการบ้านที่ทำเสร็จแล้วมาวิเคราะห์ เป็นงานกลุ่ม คือ ให้นำงานของสมาชิกแต่ละคนในกลุ่มตัวเองมาอ่านทั้ง 3 คน แล้วมารวบรวมวิเคราะห์เนื้อหาทั้ง 3 คน มาสรุปเป็น 1 หัวข้อ แล้วทำเป็นงานกลุ่ม  ทำแบบนี้จนถึงข้อสุดท้าย

     หัวข้อมี ดังนี้
1. ความหมายของคณิตศาสตร์
2. จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์
3. ทฤษฎีการสอนคณิตศาสตร์
4. ขอบเขตของคณิตศาสตร์  มีอะไรบ้าง / เรื่องอะไรบ้าง
5. หลักการสอน / การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ 
        จากนั้น ก็ให้แต่ละกลุ่ม ให้ตัวแทนกลุ่มอ่านสรุปเนื้อหาให้เพื่อนๆฟังผลัดเปลี่ยนกันไปทีละกลุ่มแต่ละหัวข้อ
         สรุปโดย
  สมาชิกในกลุ่ม มีดังนี้
1. นางสาว สุกานดา   ชูสนิท   เลขที่  16
2. นางสาว นุชนารถ  ภาคภูมิ  เลขที่ 8
3. นางสาว จารุวรรณ  ม่วงมิตร  เลขที่ 5
        รายละเอียด มีดังนี้
1. ความหมายของคณิตศาสตร์
       คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่เราไม่คุ้นเคยเราจึงจะต้องหาโอกาสศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมและใส่ใจทำ ปฏิบัติ แก้โจทย์ปัญหาต่างๆอยู่เป็นประจำเสมอๆ เพื่อที่จะให้เกิดความเข้าใจในวิชานี้  ดังนั้น อาจจะกล่าวได้ว่า  การคิด การคำนวณ เรื่องตัวเลข จำนวนการบวก การลบ การคูณ การหาร รวมทั้งรูปทรงต่างๆทางเรขาคณิตศาสตร์
(ศิวพร  เชษฐธง,หลักการสอนคณิตศาสตร์,8,2535)
(เทะสึยะ  คุรึยะ(แต่ง)  ธนารักษ์  ธีระมั่นคง(แปล) ฝึกคิดคณิตแบบใหม่,7,2554)
(มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช,เอกสารการสอนชุดวิชา การสอนคณิตศาสตร์ เล่ม 1 ,34,2536)
2. จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์
       1. ทำให้รู้จักคุณค่าของคณิตศาสตร์และเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์
       2. มีความรู้ ความเข้าใจในวิชา คณิตศาสตร์พื้นฐานและมีทักษะในการทำงาน
       3. รู้จักคิดอย่างสร้างสรรค์ มีเหตุผล เป็นระบบ มีแบบแผน และแสดงความคิดอย่างมีระบบ ชัดเจน และ รัดกุม
       4. สามารถวิเคราะห์ปัญหาสถานการณ์ได้อย่างรอบคอบถี่ถ้วนทำให้สามารถคาดการณ์ ตัดสินใจ และ แก้ปัญหาได้อย่างถี่ถ้วน
       5. สามารถนำประสบการณ์ทางด้านความรู้ ความคิด และทักษะที่ได้จากการเรียนคณิตศาสตร์ไปใช้ในการเรียนรู้และใช้ในชีวิตประจำวัน
       6. เพื่อให้การบรรลุผลในแง่ของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างแท้จริง
(กระทรวงศึกษาธิการ,คู่มือคณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6,1,2540)
(สุวิทย์  คุณกิตติ และ คณะ,คู่มือครูสอนคณิตศาสตร์,1,2544)
(มหาวิทยาลัยสุดขทัยธรรมาธิราช,เอกสารการสอนชุดวิชา การสอนกลุ่มทักษะ2คณิตสาสตร์,107,2537)
3. ทฤษฎีการสอนคณิตศาสตร์
       เป็นการส่งเสริมให้นักเรียน มีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรม การสอนรูปแบบนี้ต้องการที่จะให้ครูเปลี่ยนการสอนแบบบรรยายมาใช้เป็นการสังเกต  การเตรียมการของนักเรียนและการจัดกิจกรรม การเรียนการสอนให้นักเรียนมีความรู้  ความเข้าใจ ในเนื้อหาวิชา
       นักทฤษฎี ชื่อ กานเย  ได้กล่าวการแบ่งการเรียนรู้ออกเป็น 8 ประเภท  ดังนี้
1. การเรียนรู้เครื่องหมายหรือสัญญาณ
2. การเรียนรู้ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง
3. การเรียนรู้แบบลูกโซ่
4. การเรียนรู้โดยการเชื่อมโยง 
5. การเรียนรู้แบบจำแนกความแตกต่าง
6. การเรียนรู้มโนมติ
7. การเรียนรู้กฎหรือหลักการ
8. การเรียนรู้การแก้ปัญหา
(ชัยศักดิ์  ลีลาจรัสกุล,สอนสนุกสร้างสุขสไตล์สาธิต(ปทุมวัน),234,2550)
(มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช,เอกสารการสอนชุดวิชา การสอนคณิตศาสตร์ เล่ม 1,170,2526)
(กระทรวงศึกษาธิการ,คู่มือครูคณิตศาสตร์ ป.6,2,2540)           
4. ขอบเขตของคณิตศาสตร์  มีอะไรบ้าง / เรื่องอะไรบ้าง
1. จำนวน  ตัวเลข
2. การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
3. พื้นฐานทางการวัดเกี่ยวกับการวัด ความยาว การหาพื้นที่ ปริมาณ 
4. พื้นฐานทางสถิติ แผนภูมิ กราฟ
5.  ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์
6. พื้นฐานทางรูปเรขาคณิตศาสตร์
(กรมการฝึกหัดครูสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน,เอกสารประกอบการอบรมครูผู้สอน,6,2537)
(กระทรวงศึกษาธิการ,สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์,5,2544)
(มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช,เอกสารการสอนชุดวิชา การสอนกลุ่มทักษะ 2 คณิตศาสตร์,50,2537)
5. หลักการสอน / การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์
       1. วิธีการสอนโดยเน้นกิจกรรมของผู้สอน
       2. วิธีการสอนโดยเน้นกิจกรรมของผู้เรียน
       3. วิธีการสอนโดยเน้นกิจกรรมของผู้เรียนเป็นรายบุคคล
       4. วิธีการสอนโดยเน้นกิจกรรมระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
     ผุ้สอนอาจจะมีสื่อการเรียนการสอนที่เป็นรูปธรรมมาประกอบการอธิบายหรือการบอกของครูผู้สอน เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจยิ่งขึ้น
(ยุพิน  พิพิธกุล,การนิเทศการสอนคณิตศาสตร์,122,2544)
(สุวรรณ  กาญจนมยูร,เทคนิคการใช้สื่อและเกมคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา,3,2551)
(มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช,เอกสารการสอนชชุดวิชา การสอนคณิตศาสตร์เล่ม 1,134,2536)