วันศุกร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555



สัปดาห์ที่ 5

วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555
เรียน วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

     - อาจารย์  ชี้แจง
   วันจันทร์  ให้นักศึกษาทุกคนไปลงนามถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องจากใกล้ถึงวันที่ 5 ธันวาคม มหาราชและเวลา 13.00.-17.00. มาร้องเพลง
   วันอังคาร  เวลา 16.00อาจารย์นัดเจอกันที่ลานเพลิงเพื่อที่จะมาเต้นถวายพระพรเพื่อพ่อหลวง 
** ให้นักศึกษาแต่งกาย ใส่เสื้อสีเหลือง  กางเกงวอม  รองเท้าผ้าใบ

** ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ ในระดับประถมศึกษาควรประกอบด้วยหัวข้อของเนื้อหาหรือทักษะ(นิตยา  ประพฤติกิจ.2541.17-19)
1. การนับ คือ การเรียงตัวเลข จากนั้นเป็น การนับลำดับที่/ ตำแหน่ง จะได้เป็น จำนวน แล้วจะใช้ สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์เพื่อให้เกิดความเข้าใจ  
2. ตัวเลข  เป็นสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์มีไว้บอก ค่า  จำนวน  สัญลักษณ์  เพื่อสื่อสารให้เกิดความเข้าใจ                               
3. การจับคู่ คือ การจับคู่เหมือน เช่น รูปร่าง  รูปทรง  จำนวน
4. การจัดประเภท คือ กำหนดเกณฑ์ เราไม่ควรกำหนด 2 เกณฑ์ เพราะจะทำให้เด็กสับสนแยกแยะไม่ออก ถ้าต้องกำหนดเกณฑ์ต้องกำหนดเพียง 1 เกณฑ์สำหรับเด็กปฐมวัย เพราะ เป็นการวางพื้นฐาน              
5. การเปรียบเทียบ คือ ทักษะการสังเกตเป็นขั้นต้น คือ การกะประมาณ คือ 1.หาค่า/หาปริมาณ   แล้วมา   2.มาเปรียบเทียบกัน แล้ว เปิดโอกาสให้เด็กได้ลงมือกระทำจริงในการเปรีบยเทียบโดยการ  ตัดออก  การลบ  การบวก
6. การจัดลำดับ คือ การหา ค่า / ปริมาณ แล้วมา เปรียบเทียบ แล้วมา จัดวางเรียงลำดับ แล้วนำ ตัวเลขมาลำดับกำกับ
7. รูปทรงและเนื้อที่ คือ ปริมาณ ความจุ
8.การวัด คือ การหาค่า/ปริมาณ ที่เป็น หน่วย/เครื่องมือในการวัด(สำหรับเด็กจะไม่เป็นทางการ)  เครื่องมือกึ่งมาตรฐาน เช่น ฝ่ามือ  เครื่องมือมาตรฐาน เช่น ไม้บรรทัด ตลับเมตร
9. เซต คือ การอยู่เป็นคู่ เช่น จำนวน คู่กับจำนวน (1,1)
10. เศษส่วน อันดับแรกต้องรู้จักคำว่าทั้งหมด”  และ ครึ่ง(แบ่งครึ่ง)เช่น การแบ่งขนมคนละครึ่ง  หรือ  มีเด็ก 4 คนมีขนม 1 ชิ้น ต้องแบ่งขนมให้ได้ 1 ส่วน 4 ของแต่ละชิ้น แต่ละคนให้เท่าๆกัน
11. การทำตามแบบหรือลวดลาย  ได้ลงมือปฏิบัติจริงแล้วใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 การทำตามแบบ คือ การเล่น เช่น การเล่นเกมกระต่ายขาเดียวแล้วจะต้องให้เด็กมีอิสระที่จะเลือกและตัดสินใจทำเองและทำโดยไม่ทำลายความเชื่อมั่นในตนเอง
12. การอนุรักษ์ คือ การตอบตามที่ตามองเห็นที่เป็นรูปธรรม เช่น ตัวอย่าง การเทน้ำใส่แก้วที่มีรูปร่างต่างกัน
     (เยาวภา  เดชะคุปต์.2542.87-88) ได้เสนอการสอนคณิตศาสตร์แนวใหม่ที่ครูครวศึกษาเพื่อจัดประสบการณ์ให้กับเด็กดังนี้
1. การจัดกลุ่มหรือเซต
2. จำนวน 1-10
3. ระบบจำนวน/ชื่อของตัวเลข   1=หนึ่ง  / 2=สอง
4. ความสัมพันระหว่างเซต
5. การรวมกลุ่ม
6. ลำดับที่
7. การวัด
8. รูปทรงเรขาคณิตศาสตร์
9. สถิติและกราฟ
    จาก แนวคิดของทั้งสองท่านที่ได้กล่าวมานั้น.นิตยา  ประพฤติกิจ และ อ.เยาวภา  เดชะคุปต์ มีแนวคิดที่เหมือนกันแต่ที่แตกต่างกัน คือ หัวข้อ สถิติและกราฟ ที่ อ.นิตยา ประพฤติกิจ ไม่มี

     - อาจารย์ให้จับคู่ 2 คน แล้วใหทำงาน 12 หัวข้อ

การบ้านสัปดาห์นี้
    1. ทำงานคู่ 12หัวข้อ 
การบ้านสัปดาห์หน้า
    2. อาจารย์  ให้นำกล่องที่มีรูปทรงมาคนละ 1 กล่อง กล่องอะไรก็ได้ เช่น กล่องใส่ครีม  กล่องยาสีฟัน....



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น