วันศุกร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555


ค้นคว้าเพิ่มเติม




ประวัติของเพียเจต์
        จอห์น เพียเจต์ (.. 2439 - 2523) Jean Piaget (..1896 - 1980) ผู้สร้างทฤษฎีพัฒนาการเชาวน์ปัญญาทฤษฎีเกี่ยวกับพัฒนาการเชาวน์ปัญญาที่ผู้เขียนเห็นว่ามีประโยชน์สำหรับครู คือ ทฤษฎีของนักจิตวิทยาชาวสวิส ชื่อ เพียเจต์(Piaget)เพียเจต์ได้รับปริญญาเอกทางวิทยาศาสตร์สาขาสัตวิทยาที่มหาวิทยาลัยNeuchatelประเทศสวิสเซอร์แลนด์ เพียเจต์ ( Piaget) ได้ศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการทางด้านความคิดของเด็กว่ามีขั้นตอนหรือกระบวนการอย่างไร ทฤษฎีของเพียเจต์ตั้งอยู่บนรากฐานของทั้งองค์ประกอบที่เป็นพันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม
ทฤษฎีการเรียนรู้ ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ มีสาระสรุปได้ดังนี้
        1) พัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลเป็นไปตามวัย
ต่าง  เป็นลำดับขั้น ดังนี้
          1.1ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว (Sensori Motor Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 2 ปี
          1.2) ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (Preoperational Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่อายุ 2-7 ปี แบ่งออกเป็นขั้นย่อยอีก 2ขั้น คือ 1. ขั้นก่อนเกิดสังกัป (Preconceptual Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็กอายุ 2-4 ปี 2. ขั้นการคิดแบบญาณหยั่งรู้ นึกออกเองโดยไม่ใช้เหตุผล (Intuitive Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็ก อายุ 4-7 ปี
         1.3) ขั้นปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม (Concrete Operation Stage) ขั้นนี้จะเริ่มจากอายุ 7-11 ปี
         1.4) ขั้นปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม (Formal Operational Stage) ขั้นนี้จะเริ่มจากอายุ 11-15 ปี
   สิ่งที่เป็นนามธรรมพัฒนาการทางการรู้คิดของเด็กในช่วงอายุ 6 ปีแรกของชีวิต ซึ่งเพียเจต์ ได้ศึกษาไว้เป็นประสบการณ์ สำคัญที่เด็กควรได้รับการส่งเสริม มี 6 ขั้น ได้แก่
     1. ขั้นความรู้แตกต่าง(Absolute Differences) เด็กเริ่มรับรู้ในความแตกต่างของสิ่งของที่มองเห็น
    2. ขั้นรู้สิ่งตรงกันข้าม(Opposition) ขั้นนี้เด็กรู้ว่าของต่างๆมีลักษณะตรงกันข้ามเป็น 2 ด้าน เช่น มี-ไม่มี  หรือ  เล็ก-ใหญ่
    3. ขั้นรู้หลายระดับ(Discrete Degree) เด็กเริ่มรู้จักคิดสิ่งที่เกี่ยวกับลักษณะที่อยู่ตรงกลางระหว่างปลายสุดสองปลาย เช่น ปานกลาง น้อย
    4. ขั้นความเปลี่ยนแปลงต่อเนื่อง(Variation) เด็กสามารถเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ เช่น บอกถึงความเจริยเติบโตของต้นไม้
    5. ขั้นรู้ผลของการกระทำ(Function) ในขั้นนี้เด็กจะเข้าใจถึงความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลง
    6. ขั้นการทดแทนอย่างลงตัว(Exact Compensation) เด็กจะรุ้ว่าการกระทำให้ของสิ่งหนึ่งเปลี่ยนแปลงย่อมมีผลต่ออีกสิ่งหนึ่งอย่างทัดเทียมกัน  
        2) ภาษาและกระบวนการคิดของเด็กแตกต่างจากผู้ใหญ่
        3) กระบวนการทางสติปัญญามีลักษณะ  ดังนี้
            3.1) การซึมซับหรือการดูดซึม(assimilation)
            3.2) การปรับและจัดระบบ(accommodation)
            3.3) การเกิดความสมดุล(equilibration) 

   **  การนำไปใช้ในการจัดการศึกษา / การสอน 
เมื่อทำงานกับนักเรียน ผู้สอนควรคำนึงถึงพัฒนาการทางสติปัญญาของนักเรียนดังต่อไปนี้

      1. นักเรียนที่มีอายุเท่ากันอาจมีขั้นพัฒนาการทางสติปัญญาที่แตกต่างกัน นักเรียนแต่ละคนจะได้รับประสบการณ์ 2 แบบคือ 
1. ประสบการณ์ทางกายภาพ (physical experiences)   
2. ประสบการณ์ทางตรรกศาสตร์(Logicomathematical experiences)
           2. หลักสูตรที่สร้างขึ้นบนพื้นฐานทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ ควรมีลักษณะดังต่อไปนี้คือ
1. เน้นพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียน
2. เสนอการเรียนการเสนอที่ให้ผู้เรียนพบกับความแปลกใหม่ 
3. เน้นการเรียนรู้ต้องอาศัยกิจกรรมการค้นพบ
4. เน้นกิจกรรมการสำรวจและการเพิ่มขยายความคิดในระหว่างการเรียนการสอน 
5. ใช้กิจกรรมขัดแย้ง (cognitive conflict activities)

 3.การสอนที่ส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนควรดำเนินการดังต่อไปนี้ 
1. ถามคำถามมากกว่าการให้คำตอบ 
2. ครูผู้สอนควรจะพูดให้น้อยลง และฟังให้มากขึ้น 
3. ควรให้เสรีภาพแก่นักเรียนที่จะเลือกเรียนกิจกรรมต่าง ๆ 
4.เมื่อนักเรียนให้เหตุผลผิดควรถามคำถามหรือจัประสบการณ์ให้นักเรียนใหม่เพื่อนักเรียนจะได้แก้ไขข้อผิดพลาดด้วตนเอง 
5.ชี้ระดับพัฒนาการทางสติปัญญาของนักเรียนจากงานพัฒนาการทางสติปัญญาขั้นนามธรรมหรือจากงานการอนุรักษ์เพื่อดูว่านักเรียนคิดอย่างไร 
6. ยอมรับความจริงที่ว่านักเรียนแต่ละคนมีอัตราพัฒนาการทางสติปัญญาที่แตกต่างกัน 
7. ผู้สอนต้องเข้าใจว่านักเรียนมีความสามารถเพิ่มขึ้นในระดับความคิดขั้นต่อไป 
8.ตระหนักว่าการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นเพราะจดจำมากกว่าที่จะเข้าใจ เป็นการเรียนรู้ที่ไม่แท้จริง (pseudo learning) 
          4. ในขั้นประเมินผล ควรดำเนินการสอนต่อไปนี้ 
1. มีการทดสอบแบบการให้เหตุผลของนักเรียน 
2. พยายามให้นักเรียนแสดงเหตุผลในการตอนคำถามนั้น ๆ 
3. ต้องช่วยเหลือนักเรียนทีมีพัฒนาการทางสติปัญญาต่ำกว่าเพื่อนร่วมชั้น



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น