วันศุกร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555



สัปดาห์ที่ 5

วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555
เรียน วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

     - อาจารย์  ชี้แจง
   วันจันทร์  ให้นักศึกษาทุกคนไปลงนามถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องจากใกล้ถึงวันที่ 5 ธันวาคม มหาราชและเวลา 13.00.-17.00. มาร้องเพลง
   วันอังคาร  เวลา 16.00อาจารย์นัดเจอกันที่ลานเพลิงเพื่อที่จะมาเต้นถวายพระพรเพื่อพ่อหลวง 
** ให้นักศึกษาแต่งกาย ใส่เสื้อสีเหลือง  กางเกงวอม  รองเท้าผ้าใบ

** ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ ในระดับประถมศึกษาควรประกอบด้วยหัวข้อของเนื้อหาหรือทักษะ(นิตยา  ประพฤติกิจ.2541.17-19)
1. การนับ คือ การเรียงตัวเลข จากนั้นเป็น การนับลำดับที่/ ตำแหน่ง จะได้เป็น จำนวน แล้วจะใช้ สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์เพื่อให้เกิดความเข้าใจ  
2. ตัวเลข  เป็นสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์มีไว้บอก ค่า  จำนวน  สัญลักษณ์  เพื่อสื่อสารให้เกิดความเข้าใจ                               
3. การจับคู่ คือ การจับคู่เหมือน เช่น รูปร่าง  รูปทรง  จำนวน
4. การจัดประเภท คือ กำหนดเกณฑ์ เราไม่ควรกำหนด 2 เกณฑ์ เพราะจะทำให้เด็กสับสนแยกแยะไม่ออก ถ้าต้องกำหนดเกณฑ์ต้องกำหนดเพียง 1 เกณฑ์สำหรับเด็กปฐมวัย เพราะ เป็นการวางพื้นฐาน              
5. การเปรียบเทียบ คือ ทักษะการสังเกตเป็นขั้นต้น คือ การกะประมาณ คือ 1.หาค่า/หาปริมาณ   แล้วมา   2.มาเปรียบเทียบกัน แล้ว เปิดโอกาสให้เด็กได้ลงมือกระทำจริงในการเปรีบยเทียบโดยการ  ตัดออก  การลบ  การบวก
6. การจัดลำดับ คือ การหา ค่า / ปริมาณ แล้วมา เปรียบเทียบ แล้วมา จัดวางเรียงลำดับ แล้วนำ ตัวเลขมาลำดับกำกับ
7. รูปทรงและเนื้อที่ คือ ปริมาณ ความจุ
8.การวัด คือ การหาค่า/ปริมาณ ที่เป็น หน่วย/เครื่องมือในการวัด(สำหรับเด็กจะไม่เป็นทางการ)  เครื่องมือกึ่งมาตรฐาน เช่น ฝ่ามือ  เครื่องมือมาตรฐาน เช่น ไม้บรรทัด ตลับเมตร
9. เซต คือ การอยู่เป็นคู่ เช่น จำนวน คู่กับจำนวน (1,1)
10. เศษส่วน อันดับแรกต้องรู้จักคำว่าทั้งหมด”  และ ครึ่ง(แบ่งครึ่ง)เช่น การแบ่งขนมคนละครึ่ง  หรือ  มีเด็ก 4 คนมีขนม 1 ชิ้น ต้องแบ่งขนมให้ได้ 1 ส่วน 4 ของแต่ละชิ้น แต่ละคนให้เท่าๆกัน
11. การทำตามแบบหรือลวดลาย  ได้ลงมือปฏิบัติจริงแล้วใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 การทำตามแบบ คือ การเล่น เช่น การเล่นเกมกระต่ายขาเดียวแล้วจะต้องให้เด็กมีอิสระที่จะเลือกและตัดสินใจทำเองและทำโดยไม่ทำลายความเชื่อมั่นในตนเอง
12. การอนุรักษ์ คือ การตอบตามที่ตามองเห็นที่เป็นรูปธรรม เช่น ตัวอย่าง การเทน้ำใส่แก้วที่มีรูปร่างต่างกัน
     (เยาวภา  เดชะคุปต์.2542.87-88) ได้เสนอการสอนคณิตศาสตร์แนวใหม่ที่ครูครวศึกษาเพื่อจัดประสบการณ์ให้กับเด็กดังนี้
1. การจัดกลุ่มหรือเซต
2. จำนวน 1-10
3. ระบบจำนวน/ชื่อของตัวเลข   1=หนึ่ง  / 2=สอง
4. ความสัมพันระหว่างเซต
5. การรวมกลุ่ม
6. ลำดับที่
7. การวัด
8. รูปทรงเรขาคณิตศาสตร์
9. สถิติและกราฟ
    จาก แนวคิดของทั้งสองท่านที่ได้กล่าวมานั้น.นิตยา  ประพฤติกิจ และ อ.เยาวภา  เดชะคุปต์ มีแนวคิดที่เหมือนกันแต่ที่แตกต่างกัน คือ หัวข้อ สถิติและกราฟ ที่ อ.นิตยา ประพฤติกิจ ไม่มี

     - อาจารย์ให้จับคู่ 2 คน แล้วใหทำงาน 12 หัวข้อ

การบ้านสัปดาห์นี้
    1. ทำงานคู่ 12หัวข้อ 
การบ้านสัปดาห์หน้า
    2. อาจารย์  ให้นำกล่องที่มีรูปทรงมาคนละ 1 กล่อง กล่องอะไรก็ได้ เช่น กล่องใส่ครีม  กล่องยาสีฟัน....



วันศุกร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555



สัปดาห์ที่  4

วันที่ 23 พศจิกายน  2555
เรียน วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

                                  
                              ไม่มีการเรียนการสอน

             ** หมายเหตุ  มี กีฬาสี ของคณะศึกษาศาสตร์
                                  







วันศุกร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555


สัปดาห์ที่  3


วันที่  16  พฤศจิกายน  2555
เรียน  วิชา  การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


     - อาจารย์  ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 3 คน เสร็จแล้ว อาจารย์ ให้สมาชิก 1 คน ในกลุ่มทุกกลุ่มยืนขึ้นแล้วให้เปลี่ยนไปอยู่กลุ่มอื่น จากนั้นได้ให้สมาชิกคนที่ 2 ในกลุ่มเดิมยืนขึ้นแล้วให้เปลี่ยนกลุ่มเหมือนกับสมาชิกคนที่ 1 โดยห้ามไปอยู่ซ้ำกับกลุ่มที่เพื่อนคนแรกอยู่
     จากนั้น อาจารย์ ให้แต่ละกลุ่มนำการบ้านที่ทำเสร็จแล้วมาวิเคราะห์ เป็นงานกลุ่ม คือ ให้นำงานของสมาชิกแต่ละคนในกลุ่มตัวเองมาอ่านทั้ง 3 คน แล้วมารวบรวมวิเคราะห์เนื้อหาทั้ง 3 คน มาสรุปเป็น 1 หัวข้อ แล้วทำเป็นงานกลุ่ม  ทำแบบนี้จนถึงข้อสุดท้าย

     หัวข้อมี ดังนี้
1. ความหมายของคณิตศาสตร์
2. จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์
3. ทฤษฎีการสอนคณิตศาสตร์
4. ขอบเขตของคณิตศาสตร์  มีอะไรบ้าง / เรื่องอะไรบ้าง
5. หลักการสอน / การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ 
        จากนั้น ก็ให้แต่ละกลุ่ม ให้ตัวแทนกลุ่มอ่านสรุปเนื้อหาให้เพื่อนๆฟังผลัดเปลี่ยนกันไปทีละกลุ่มแต่ละหัวข้อ
         สรุปโดย
  สมาชิกในกลุ่ม มีดังนี้
1. นางสาว สุกานดา   ชูสนิท   เลขที่  16
2. นางสาว นุชนารถ  ภาคภูมิ  เลขที่ 8
3. นางสาว จารุวรรณ  ม่วงมิตร  เลขที่ 5
        รายละเอียด มีดังนี้
1. ความหมายของคณิตศาสตร์
       คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่เราไม่คุ้นเคยเราจึงจะต้องหาโอกาสศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมและใส่ใจทำ ปฏิบัติ แก้โจทย์ปัญหาต่างๆอยู่เป็นประจำเสมอๆ เพื่อที่จะให้เกิดความเข้าใจในวิชานี้  ดังนั้น อาจจะกล่าวได้ว่า  การคิด การคำนวณ เรื่องตัวเลข จำนวนการบวก การลบ การคูณ การหาร รวมทั้งรูปทรงต่างๆทางเรขาคณิตศาสตร์
(ศิวพร  เชษฐธง,หลักการสอนคณิตศาสตร์,8,2535)
(เทะสึยะ  คุรึยะ(แต่ง)  ธนารักษ์  ธีระมั่นคง(แปล) ฝึกคิดคณิตแบบใหม่,7,2554)
(มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช,เอกสารการสอนชุดวิชา การสอนคณิตศาสตร์ เล่ม 1 ,34,2536)
2. จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์
       1. ทำให้รู้จักคุณค่าของคณิตศาสตร์และเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์
       2. มีความรู้ ความเข้าใจในวิชา คณิตศาสตร์พื้นฐานและมีทักษะในการทำงาน
       3. รู้จักคิดอย่างสร้างสรรค์ มีเหตุผล เป็นระบบ มีแบบแผน และแสดงความคิดอย่างมีระบบ ชัดเจน และ รัดกุม
       4. สามารถวิเคราะห์ปัญหาสถานการณ์ได้อย่างรอบคอบถี่ถ้วนทำให้สามารถคาดการณ์ ตัดสินใจ และ แก้ปัญหาได้อย่างถี่ถ้วน
       5. สามารถนำประสบการณ์ทางด้านความรู้ ความคิด และทักษะที่ได้จากการเรียนคณิตศาสตร์ไปใช้ในการเรียนรู้และใช้ในชีวิตประจำวัน
       6. เพื่อให้การบรรลุผลในแง่ของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างแท้จริง
(กระทรวงศึกษาธิการ,คู่มือคณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6,1,2540)
(สุวิทย์  คุณกิตติ และ คณะ,คู่มือครูสอนคณิตศาสตร์,1,2544)
(มหาวิทยาลัยสุดขทัยธรรมาธิราช,เอกสารการสอนชุดวิชา การสอนกลุ่มทักษะ2คณิตสาสตร์,107,2537)
3. ทฤษฎีการสอนคณิตศาสตร์
       เป็นการส่งเสริมให้นักเรียน มีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรม การสอนรูปแบบนี้ต้องการที่จะให้ครูเปลี่ยนการสอนแบบบรรยายมาใช้เป็นการสังเกต  การเตรียมการของนักเรียนและการจัดกิจกรรม การเรียนการสอนให้นักเรียนมีความรู้  ความเข้าใจ ในเนื้อหาวิชา
       นักทฤษฎี ชื่อ กานเย  ได้กล่าวการแบ่งการเรียนรู้ออกเป็น 8 ประเภท  ดังนี้
1. การเรียนรู้เครื่องหมายหรือสัญญาณ
2. การเรียนรู้ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง
3. การเรียนรู้แบบลูกโซ่
4. การเรียนรู้โดยการเชื่อมโยง 
5. การเรียนรู้แบบจำแนกความแตกต่าง
6. การเรียนรู้มโนมติ
7. การเรียนรู้กฎหรือหลักการ
8. การเรียนรู้การแก้ปัญหา
(ชัยศักดิ์  ลีลาจรัสกุล,สอนสนุกสร้างสุขสไตล์สาธิต(ปทุมวัน),234,2550)
(มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช,เอกสารการสอนชุดวิชา การสอนคณิตศาสตร์ เล่ม 1,170,2526)
(กระทรวงศึกษาธิการ,คู่มือครูคณิตศาสตร์ ป.6,2,2540)           
4. ขอบเขตของคณิตศาสตร์  มีอะไรบ้าง / เรื่องอะไรบ้าง
1. จำนวน  ตัวเลข
2. การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
3. พื้นฐานทางการวัดเกี่ยวกับการวัด ความยาว การหาพื้นที่ ปริมาณ 
4. พื้นฐานทางสถิติ แผนภูมิ กราฟ
5.  ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์
6. พื้นฐานทางรูปเรขาคณิตศาสตร์
(กรมการฝึกหัดครูสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน,เอกสารประกอบการอบรมครูผู้สอน,6,2537)
(กระทรวงศึกษาธิการ,สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์,5,2544)
(มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช,เอกสารการสอนชุดวิชา การสอนกลุ่มทักษะ 2 คณิตศาสตร์,50,2537)
5. หลักการสอน / การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์
       1. วิธีการสอนโดยเน้นกิจกรรมของผู้สอน
       2. วิธีการสอนโดยเน้นกิจกรรมของผู้เรียน
       3. วิธีการสอนโดยเน้นกิจกรรมของผู้เรียนเป็นรายบุคคล
       4. วิธีการสอนโดยเน้นกิจกรรมระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
     ผุ้สอนอาจจะมีสื่อการเรียนการสอนที่เป็นรูปธรรมมาประกอบการอธิบายหรือการบอกของครูผู้สอน เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจยิ่งขึ้น
(ยุพิน  พิพิธกุล,การนิเทศการสอนคณิตศาสตร์,122,2544)
(สุวรรณ  กาญจนมยูร,เทคนิคการใช้สื่อและเกมคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา,3,2551)
(มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช,เอกสารการสอนชชุดวิชา การสอนคณิตศาสตร์เล่ม 1,134,2536)



   

วันศุกร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่  2


วันที่  พฤศจิกายน  2555
เรียน  วิชา  การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


     - อาจารย์ให้นักศึกษา ลิงก์ Blog ทุกคน เพราะ อาจารย์จะเริ่มตรวจแล้ว        
       จากนั้น อาจารย์ แจกกระดาษให้นักศึกษาคนละ 1 แผ่น แล้วให้เขียนคำเป็นภาษาอังกฤษ ตามด้วยคำแปล ภาษาไทย ตามที่อาจารย์บอกคือ 
           Math                           =             คณิตศาสตร์  
           Experiences                =            การจัดประสบการณ์ 
           Early  Childhood       =            เด็กปฐมวัย  

     - อาจารย์ ก็ได้สอนร้องเพลง เพลง ยืนตัวตรง และเพลง กางแขน  แล้วให้นักศึกษาทุกคนยืนขึ้นแล้วทำท่าทางประกอบตามเนื้อเพลง

    *  การแต่งเพลงคณิต  จะต้องรู้  เนื้อหา  แล้วมาวิเคราะห์เป็น  ประโยค  แล้วนำมาใส่  ทำนอง 

    *  นิทาน  จะต้องรู้  เนื้อหา  แล้วมาวิเคราะห์เป็น  ตัวละคร  แล้วนำมา  เรีบยเรียง
     *  คณิศาสตร์เป็นเรื่องราวที่อยู่รอบๆตัวเรา เช่น ในห้องเรียนของเราได้แก่

                หลอดไฟ  คือ รูปทรงของหลอดไฟ / รางไฟ





พัดลม  คือ  จำนวนใบพัด / รูปทราง


กระดานไวท์บอร์ด  คือ  รูปทรง



** การบ้านในสัปดาห์นี้
     - อาจารย์ให้ไปสำรวจหนังสือคณิตศาสตร์ตามหัวข้อดังต่อไปนี้
1. หาหนังสือคณิตศาสตร์ แล้วเขียน  ชื่อเรื่อง / ชื่อผู้แต่ง / ปี พ./ เลขเรียกหนังสือ
2. หาความหมายของคณิตศาสตร์
3. หาจุดมุ่งหมายของคณิตศาสตร์
4. ทฤษฎีการสอนคณิตศาสตร์
5. ขอบเขต / ขอบข่าย ของคณิตศาสตร์
6. หลักการสอน / การจัดประสบการณ์ คณิตศาสตร์

     - อาจารย์ อธิบาย ทฤษฎีพัฒนาการของเพียเจท์ ว่า  การพัฒนาทางสติปัญญาจะต้องให้เด็กได้ลงมือกระทำให้ประสานสัมพันธ์กันกับประสาทสัมผัสทั้ง 5




ค้นคว้าเพิ่มเติม




ประวัติของเพียเจต์
        จอห์น เพียเจต์ (.. 2439 - 2523) Jean Piaget (..1896 - 1980) ผู้สร้างทฤษฎีพัฒนาการเชาวน์ปัญญาทฤษฎีเกี่ยวกับพัฒนาการเชาวน์ปัญญาที่ผู้เขียนเห็นว่ามีประโยชน์สำหรับครู คือ ทฤษฎีของนักจิตวิทยาชาวสวิส ชื่อ เพียเจต์(Piaget)เพียเจต์ได้รับปริญญาเอกทางวิทยาศาสตร์สาขาสัตวิทยาที่มหาวิทยาลัยNeuchatelประเทศสวิสเซอร์แลนด์ เพียเจต์ ( Piaget) ได้ศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการทางด้านความคิดของเด็กว่ามีขั้นตอนหรือกระบวนการอย่างไร ทฤษฎีของเพียเจต์ตั้งอยู่บนรากฐานของทั้งองค์ประกอบที่เป็นพันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม
ทฤษฎีการเรียนรู้ ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ มีสาระสรุปได้ดังนี้
        1) พัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลเป็นไปตามวัย
ต่าง  เป็นลำดับขั้น ดังนี้
          1.1ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว (Sensori Motor Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 2 ปี
          1.2) ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (Preoperational Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่อายุ 2-7 ปี แบ่งออกเป็นขั้นย่อยอีก 2ขั้น คือ 1. ขั้นก่อนเกิดสังกัป (Preconceptual Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็กอายุ 2-4 ปี 2. ขั้นการคิดแบบญาณหยั่งรู้ นึกออกเองโดยไม่ใช้เหตุผล (Intuitive Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็ก อายุ 4-7 ปี
         1.3) ขั้นปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม (Concrete Operation Stage) ขั้นนี้จะเริ่มจากอายุ 7-11 ปี
         1.4) ขั้นปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม (Formal Operational Stage) ขั้นนี้จะเริ่มจากอายุ 11-15 ปี
   สิ่งที่เป็นนามธรรมพัฒนาการทางการรู้คิดของเด็กในช่วงอายุ 6 ปีแรกของชีวิต ซึ่งเพียเจต์ ได้ศึกษาไว้เป็นประสบการณ์ สำคัญที่เด็กควรได้รับการส่งเสริม มี 6 ขั้น ได้แก่
     1. ขั้นความรู้แตกต่าง(Absolute Differences) เด็กเริ่มรับรู้ในความแตกต่างของสิ่งของที่มองเห็น
    2. ขั้นรู้สิ่งตรงกันข้าม(Opposition) ขั้นนี้เด็กรู้ว่าของต่างๆมีลักษณะตรงกันข้ามเป็น 2 ด้าน เช่น มี-ไม่มี  หรือ  เล็ก-ใหญ่
    3. ขั้นรู้หลายระดับ(Discrete Degree) เด็กเริ่มรู้จักคิดสิ่งที่เกี่ยวกับลักษณะที่อยู่ตรงกลางระหว่างปลายสุดสองปลาย เช่น ปานกลาง น้อย
    4. ขั้นความเปลี่ยนแปลงต่อเนื่อง(Variation) เด็กสามารถเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ เช่น บอกถึงความเจริยเติบโตของต้นไม้
    5. ขั้นรู้ผลของการกระทำ(Function) ในขั้นนี้เด็กจะเข้าใจถึงความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลง
    6. ขั้นการทดแทนอย่างลงตัว(Exact Compensation) เด็กจะรุ้ว่าการกระทำให้ของสิ่งหนึ่งเปลี่ยนแปลงย่อมมีผลต่ออีกสิ่งหนึ่งอย่างทัดเทียมกัน  
        2) ภาษาและกระบวนการคิดของเด็กแตกต่างจากผู้ใหญ่
        3) กระบวนการทางสติปัญญามีลักษณะ  ดังนี้
            3.1) การซึมซับหรือการดูดซึม(assimilation)
            3.2) การปรับและจัดระบบ(accommodation)
            3.3) การเกิดความสมดุล(equilibration) 

   **  การนำไปใช้ในการจัดการศึกษา / การสอน 
เมื่อทำงานกับนักเรียน ผู้สอนควรคำนึงถึงพัฒนาการทางสติปัญญาของนักเรียนดังต่อไปนี้

      1. นักเรียนที่มีอายุเท่ากันอาจมีขั้นพัฒนาการทางสติปัญญาที่แตกต่างกัน นักเรียนแต่ละคนจะได้รับประสบการณ์ 2 แบบคือ 
1. ประสบการณ์ทางกายภาพ (physical experiences)   
2. ประสบการณ์ทางตรรกศาสตร์(Logicomathematical experiences)
           2. หลักสูตรที่สร้างขึ้นบนพื้นฐานทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ ควรมีลักษณะดังต่อไปนี้คือ
1. เน้นพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียน
2. เสนอการเรียนการเสนอที่ให้ผู้เรียนพบกับความแปลกใหม่ 
3. เน้นการเรียนรู้ต้องอาศัยกิจกรรมการค้นพบ
4. เน้นกิจกรรมการสำรวจและการเพิ่มขยายความคิดในระหว่างการเรียนการสอน 
5. ใช้กิจกรรมขัดแย้ง (cognitive conflict activities)

 3.การสอนที่ส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนควรดำเนินการดังต่อไปนี้ 
1. ถามคำถามมากกว่าการให้คำตอบ 
2. ครูผู้สอนควรจะพูดให้น้อยลง และฟังให้มากขึ้น 
3. ควรให้เสรีภาพแก่นักเรียนที่จะเลือกเรียนกิจกรรมต่าง ๆ 
4.เมื่อนักเรียนให้เหตุผลผิดควรถามคำถามหรือจัประสบการณ์ให้นักเรียนใหม่เพื่อนักเรียนจะได้แก้ไขข้อผิดพลาดด้วตนเอง 
5.ชี้ระดับพัฒนาการทางสติปัญญาของนักเรียนจากงานพัฒนาการทางสติปัญญาขั้นนามธรรมหรือจากงานการอนุรักษ์เพื่อดูว่านักเรียนคิดอย่างไร 
6. ยอมรับความจริงที่ว่านักเรียนแต่ละคนมีอัตราพัฒนาการทางสติปัญญาที่แตกต่างกัน 
7. ผู้สอนต้องเข้าใจว่านักเรียนมีความสามารถเพิ่มขึ้นในระดับความคิดขั้นต่อไป 
8.ตระหนักว่าการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นเพราะจดจำมากกว่าที่จะเข้าใจ เป็นการเรียนรู้ที่ไม่แท้จริง (pseudo learning) 
          4. ในขั้นประเมินผล ควรดำเนินการสอนต่อไปนี้ 
1. มีการทดสอบแบบการให้เหตุผลของนักเรียน 
2. พยายามให้นักเรียนแสดงเหตุผลในการตอนคำถามนั้น ๆ 
3. ต้องช่วยเหลือนักเรียนทีมีพัฒนาการทางสติปัญญาต่ำกว่าเพื่อนร่วมชั้น



วันศุกร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่  1


วันที่  พฤศจิกายน  2555
เรียน  วิชา  การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

     - อาจารย์   ได้อธิบายเรื่องการทำ  Blog ของ เทอมที่ 1 ว่านักศึกษามีข้อบกพร่องในการทำ Blog ตรงจุดไหนบ้าง ควรจะปรับเปลี่ยนตรงจุดไหน เพิ่มเติมตรงไหน  และ ห้าม Copy  ของเพื่อนมาใส่ของตัวเองโดยเด็ดขาด
ส่วน เทอมที่ 2 อาจารย์ได้บอกว่า เมื่อเรารู้ข้อผิดพลาดในการทำ  Blog  ของเทอมที่ 1 แล้ว  เทอมนี้คุณควรจะปรับปรุงแก้ไข ตรงจุดไหน อย่างไร จึงจะได้คะแนนดีเหมือนเพื่อนคนอื่นๆ
     - อาจารย์ ได้บอกว่า ในชั่วโมงเรียนทุกครั้ง  ทุกคนจะต้องมีสมุดไว้เขียน จดบันทึก ขณะที่อาจารย์สอนทุกครั้ง  อาจารย์ได้พูดว่า การเรียนวิชานี้ เมื่อเรียนแล้ว จะต้องเกิดการเรียนรู้  จากที่เป็นอยู่จะต้องดีกว่าเดิม เช่น จากที่เคยมีกระดาษแผ่นเดียว  ก็ให้เปลี่ยนเป็น สมุดแทน  ถ้าไม่ทำตามเช่นนี้ ก็จะถือว่ายังไม่เกิดการเรียนรู้  ถ้าจะทำอะไรแล้วจะต้องทำบ่อยๆ เพื่อที่จะให้เกิดการเรียนรู้ เกิดความเคยชิน เกิดทักษะ มากขึ้น
     - อาจารย์ ให้นักศึกษาเลือกเวลาการเลิกเรียน เพื่อที่จะได้มีเวลาทำ Blog
          1. เลิกเรียนก่อนเวลาปกติ  40 นาที  เวลาที่เหลือนั้นก็ให้กลับไปทำ  Blog  แล้ว  Post ขึ้น  ให้อาจารย์ตรวจก่อนเวลา 17.00.ตอนเย็นวันเสาร์
          2. เรียนตามเวลาปกติ แล้วค่อย กลับไปทำ วันเสาร์ – อาทิตย์  แล้วให้อาจารย์ตรวจใน วันจันทร์
** สรุป  ห้องเรียนของดิฉัน เพื่อนๆเลือก   ข้อที่ 1
     - อาจารย์ได้บอก  ข้อตกลงในการเรียนวิชานี้ว่า
1. ก่อนที่จะจบชั่วโมงเรียน อาจารย์ จะถามทุกคนว่า ใครมีอะไรจะถามไหม ?
2. การแต่งกายชุดจะต้องใส่ให้เหมือนกันทุกคน
3. เข้าห้องมาจะให้นักศึกษาเซ็นชื่อก่อนเรียน
4. ถ้า อาจารย์เห็นใครคุยในขณะที่อาจารย์สอน อาจารย์จะหยุดสอน ทันที
     - อาจารย์ แจกกระดาษให้นักศึกษาคนละ 1 แผ่น แล้วให้นักศึกษา ตอบ คำถาม ตามหัวข้อที่อาจารย์ให้ปฏิบัติ คือ
1. คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยคืออะไร
   (เขียนเป็นประโยค 2 ประโยค)
2. ความคาดหวังในวิชานี้จะเรียนรู้อะไรบ้าง


    คณิตศาสตร์   คือ  การคิด คำนวณ จำแนก แยกแยะ
    ภาษา              คือ  ใช้ในชีวิตประจำวัน 
      *เมื่อนำคำ 2 คำ มารวมกันแล้ว จะได้ว่า  การคิด การคำนวณ จำแนก แยกแยะ สามารถใช้ในชีวิตประจำวันได้
   
     **พัฒนาการด้านสติปัญญา ของ เพียเจท์
4-6 ปี  ภาษาพูดเป็นประโยค                    ขั้นก่อนปฎิบัติการ
2-4 ปี  ภาษาพูดเป็นคำ คำเดียว , สั้นๆ      ............".............
แรกเกิด-2 ปี  ขั้นประสาทสัมผัส